ท้องผูก ต้นเหตุ "โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ" จริงหรือเท็จ |
แต่ถ้าหากคุณไม่เคยรู้สึกอึดอัดแน่นท้อง อุจจาระไม่เป็นก้อนแข็ง และสามารถขับถ่ายได้ตามปกติ นั่นไม่ใช่อาการท้องผูก แต่ถ้าหากอาการทั้งหมดเกิดตรงกันข้ามทั้งหมด นั่นหมายถึง "คุณกำลังมีอาการท้องผูก"
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
- ยาที่รับประทานเป็นประจำ เนื่องจากอาการข้างเคียงของยา เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีมอร์ฟีน ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาแก้แพ้บางชนิด ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
- ความเครียด เกิดจากความรู้สึกไม่สะดวกใจในการขับถ่ายต่างสถานที่ เช่น เมื่อเดินทาง หรือการอยู่ในบางสถานที่ บางคนจะกลั้นอุจจาระไว้ และจะปลดปล่อยทีเดียวเมื่อถึงบ้าน พอทำบ่อยๆเข้าก็เกิดเป็นอาการท้องผูก
- โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ แคลเซียมในเลือดสูง โรคทางสมองและไขสันหลัง เป็นต้น
- การทำงานของลำไส้แปรปรวน เนื่องจากการทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น ลำไส้ตีบตัน หรือความผิดปกติที่ทวารหนัก เป็นต้น
- อาหาร การรับประทานอาหารและดื่มน้ำ ก็มีส่วนทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ เพราะทานน้อยเกิดไป ทำให้ลำไส้ไม่ได้รับความชุ่มชื้นในลำไส้
- การตั้งครรภ์ เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะสูงขึ้น ทำให้การเคลื่อนตัวในลำไส้นานขึ้น จึงทำให้เกิดอาการท้องผูกได้เช่นเดียวกัน
วิธีป้องกันอาการท้องผูก
การรับประทานอาหารที่กากใย ( Fiber ) มากๆ เพื่อเพิ่มปริมาณอุจจาระและกระตุ้นการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ให้มากขึ้น ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับทุกวัย ประหยัดและดีต่อสุขภาพอีกด้วย สร้างสุขนิสัยการขับถ่ายให้เป็นเวลา เมื่อรู้สึกปวดไม่ควรอั้นไว้ และไม่ควรขับถ่ายอย่างเร่งรีบ เพียงเท่านี้ก็สามารถหลีกหนีจากอาการท้องผูกได้แล้ว
อาหารที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น
- ราสเบอร์รี่ (Rasberry) เป็นผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทีมีกากใย (Fiber) สูง มากกว่าสตรอว์เบอร์รี่ถึงสองเท่า ประโยชน์ของไฟเบอร์ ช่วยในการเพิ่มปริมาณของอุจจาระเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนย้ายไปยังระบบย่อยอาหาร และยังเป็นอาหารที่สำคัญของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ด้วยเช่นกัน
- ส้ม นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินซีแล้ว ยังประกอบไปด้วยไฟเบอร์ที่สามารถเพิ่มปริมาณของอุจจระได้ อีกทั้งยังมีสารนารินจีนิน (Naringenin) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารฟลาโวนอยด์ ( Flavonoid) ที่ทำหน้าที่คล้ายยาระบายอีกด้วย
- น้ำเปล่า การที่ร่างกายขาดน้ำจะส่งผลให้อุจจาระแข็งและเคลื่อนตัวไปยังระบบย่อยอาหารได้ยาก และนำไปสู่อาการท้องผูก ดังนั้นในแต่ละวัน ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้ว ซึ่งเป็นปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
- คีเฟอร์ ( Kefir ) เป็นผลิตภัณฑ์นมที่ผ่านกรรมวิธีการหมักซึ่งอุดมไปด้วยจุลินทรีย์โปรไปโอติก (Probiotics) เป็นแบคทีเรียชนิดดี มีความสำคัญต่อลำไส้ใหญ่ ในคีเฟอร์มีปริมาณของแบคทีเรียมากกว่าในโยเกิร์ตถึงสิบเท่า ทำให้อุจจาระอ่อนตัวลง ส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย
- อัลมอนด์ อุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อหัวใจ โปรตีน และไฟเบอร์แล้ว ยังเป็นแหล่งของโปแตสเซียมอีกด้วย เพราะโปแตสเซียมช่วยรักษาสมดุลของกรดในกระเพาะอาหารและทำให้อุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ได้ดีขึ้นด้วย
- ถั่วดำ อุดมไปด้วยไฟเบอร์ โปแตสเซียมและแมกนีเซียมที่ช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น
- ลูกพรุน นอกจากจะมีปริมาณไฟเบอร์สูงแล้ว ยังมีสารได้โฮดรอกซีฟีนีลอิซาติ (Dihydroxyphenylisatin) ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ สารซอร์บิทอล ( Sorbitol ) มีฤทธิ์เป็นยาระบาย และโปแตสเซียมที่มีมากกว่ากล้วยถึงสองเท่า จึงช่วยให้อุจจาระเคลื่อนผ่านทางเดินอาหารได้ง่ายขี้นอีกด้วย
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม เป็นต้น ต่างอุดมไปด้วยสารอาหารทีดีต่อระบบขับถ่าย มีไฟเบอร์ที่ช่วยให้อุจจาระเคลื่อนตัวในลำไส้ได้สะดวกขึ้น แมกนีเซียมและโปแตสเซียมช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อระบบย่อยอาหารดีขึ้น
- รำข้าวสาลี เปลือกของรำข้าวสาลี อุดมไปด้วยไฟเบอร์ถึง 25 กรัมต่อถ้วย จึงสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องผูกและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้นอีกด้วย
- ชา กาแฟ เป็นที่ทราบกันดีว่าในชา กาแฟมีสารคาเฟอืนอยู่ แต่สำหรับบางคนกลับช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น สันนิษฐานกันว่า สารที่ทำให้กาแฟมีรสขมอย่างกรดโครโรจีนิก (Chrologenic acid) เป็นสารสำคัญที่ทำให้เกิดความรู้สึกอยากขับถ่าย นั่นเอง