2/3/63

ไข้หวัดธรรมดา ต่างจาก ไวรัสโควิค 19 อย่างไร

ไข้หวัดธรรมดา ต่างจาก ไวรัสโควิค 19 อย่างไร
ปัจจุบัน ทุกคนที่รักสุขภาพทุกคนต่างก็ตื่นกลัวกับคำว่า "ไวรัสโคโรน่า หรือ โควิค 19 " แม้จะไม่เคยไปเที่ยวต่างประเทศในประเทศกลุ่มเสี่ยงหรือแม้แต่จะเดินทางไปเที่ยวห้างฯ ก็ตามแต่ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ว่า อาการของผู้ที่ติดเชืัอไวรัสโควิค 19 นั้น มีอะไรบ้างเชื้อไวรัสโควิค 19 หรือ ไวรัสโคโรนา นั้นยังไม่มีทีท่าว่าจะลดความอันตรายลง เพราะมีการแพร่กระจายได้อย่างง่ายดาย 
เพื่อรักษาสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้าง เราอยากให้คุณจำลักษณะอาการของโรค และวิธีป้องกันโรคเบื้องต้น รวมถึงวิธีป้องกันการติดเชื้อมาฝากทุกท่าน
อาการเจ็บป่วยจากไว้รัสโควิค 19 จะมีความใกล้เคียงกับ ไข้หวัดธรรมดา  มาก คือมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ จึงทำให้หลายคนมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก แม้ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ตาม

อาการของไข้หวัดธรรมดา จะมีอาการไข้ต่ำๆ น้ำมูกไหล ไอ จาม และเจ็บคอ

อาการของไวรัสโควิค 19 หรือไวรัสโคโรน่า 

  1. มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ไอ
  2. มีเสมหะ และอาจมีเลือดติด
  3. หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก
  4. ปวดเมื่อยตามตัว
  5. อาจมีคลื่นไส้ ท้องเสียในบางราย

อันตรายของเชื้อไวรัสโควิค 19 

แม้ว่าอาการโดยทั่วไปจะดูเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่ที่กลัวกันทั่วโลกเป็นเพราะว่าเป็นเชื้อไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะตัวไหนที่สามารถรักษาให้หายได้โดยตรง เป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองไปตามอาการเท่านั้น นอกจากนี้ ยังอันตรายถึงชีวิตได้ หากระบบภูมิคุ้มก้นร่างกายของเราไม่แข็งแรง หรือเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายการทำงานของปอดได้ จนทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น และรวดเร็วขึ้น

กลุ่มที่เสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิค 19 ได้ง่ายได้แก่กลุ่ม

  1. เด็กเล็ก
  2. วัยกลางคนจนถึงกลุ่มผู้สูงอายุ
  3. คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
  4. คนที่กินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่แล้ว
  5. ผู้ที่เดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน เป็นต้น
  6. ผู้ที่ทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย อย่างใกล้ชิด เช่น บุคคลากรทางการแพทย์ เป็นต้น
  7. ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น ลูกเรือสายการบินต่างๆ คนขับแท๊กซี่ เป็นต้น
หากสงสัยว่าตัวเองอาจติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 ควรทำอย่างไร ?
หากตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีอาการของโรค หรือเพิ่งกลับจากประเทศที่เสี่ยงติดเชื้อมา สามารถขอตรวจโรคกับทางโรงพยาบาลได้ มีทั้งแบบฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย

**หากไม่มีอาการใด ๆ เลย ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจ

ตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 ฟรี หากผู้เข้าตรวจตรงตามเกณฑ์เหล่านี้
  • เพิ่งกลับจากการเดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง
  • มีอาการผิดปกติที่ระบบทางเดินหายใจ
  • มีไข้มากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย ปอดอักเสบอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • มีประวัติใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวเพิ่งกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
  • ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ ลูกเรือสายการบิน เป็นต้น
สามารถเข้ารับการตรวจฟรีได้ที่โรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
  1. โรงพยาบาลรามาธิบดี
  2. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  3. โรงพยาบาลราชวิถี
  4. โรงพยาบาลศิริราช
และสามารถเช็กโรงพยาบาลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ กรมควบคุมโรค โทร 1422

ตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบมีค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในการตรวจร่างกาย และตรวจเชื้อไวรัสโควิด-19
  1. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราคา 3,000-6,000 บาท
  2. โรงพยาบาลราชวิถี ราคา 3,000-6,000 บาท
  3. โรงพยาบาลเปาโล (ทุกสาขา) ราคา 5,000-13,000 บาท
  4. โรงพยาบาลรามาธิบดี ราคา 5,000 บาท
  5. โรงพยาบาลบางปะกอก 9 อินเตอร์เนชั่นแนล ราคา 5,000 บาท
  6. โรงพยาบาลพญาไท 2 ราคา 6,500 บาท
  7. โรงพยาบาลแพทย์ รังสิต ราคา 7,000 บาท
  8. โรงพยาบาลศิริราชฯ ราคา 9,900 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายอาจเปลี่ยนแปลงตามระดับความเสี่ยงของการติดเชื้อ

วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 

  1. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล เหนื่อยหอบ เจ็บคอ  
  2. หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง 
  3.  สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
  4. ระมัดระวังการสัมผัสพื้นผิวที่ไม่สะอาด และอาจมีเชื้อโรคเกาะอยู่ รวมถึงสิ่งที่มีคนจับบ่อยครั้ง เช่น ที่จับบน BTS, MRT, Airport Link ที่เปิด-ปิดประตูในรถ กลอนประตูต่าง ๆ ก๊อกน้ำ ราวบันได ฯลฯ เมื่อจับแล้วอย่าเอามือสัมผัสหน้า และข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋า ฯลฯ
  5. ล้างมือให้สม่ำเสมอด้วยสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลอย่างน้อย 20 วินาที ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% (ไม่ผสมน้ำ)
  6. งดจับตา จมูก ปากขณะที่ไม่ได้ล้างมือ
  7. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด สัมผัสสัตว์ต่าง ๆ โดยที่ไม่มีการป้องกัน
  8. รับประทานอาหารสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง ไม่ทานอาหารที่ทำจากสัตว์หายาก
  9. สำหรับบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือไวรัสโควิด-19 โดยตรง ควรใส่หน้ากากอนามัย หรือใส่แว่นตานิรภัย เพื่อป้องกันเชื้อในละอองฝอยจากเสมหะหรือสารคัดหลั่งเข้าตา