5/8/61

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด
โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด
โรคกระดูกพรุน หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องทีไกลตัว แต่รู้หรือไม่ว่า 1ใน 5 ของผู้หญิงในช่วงอายุ 40-45 ปี ล้วนเป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับพนักงานออฟฟิศ เพราะจะไม่แสดงอาการใดๆออกมา
แต่จะเกิดอาการชัดเจนเมื่อร่างกายเข้าสู่ภาวะวิกฤต จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ มีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่ลดความแข็งแรงของกระดูกและเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดกระดูกหัก เป็นสาเหตุหลักของการเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุ
มนุษย์เราจะมีมวลกระดูกมากที่สุดในอายุราว 35 ปี และมวลกระดูกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อพ้นวัยนี้ไป อัตราการเสื่อมของกระดูกจะเพิ่มขึ้นในวัยหมดประจำเดือนของสตรี ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงอายุ 40-50 ปี จากการที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง และมีอัตราการสลายกระดูกตามธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการสร้าง อีกทั้งแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกก็เริ่มสูญเสียไปที่ละนิดจนโครงสร้างภายในกระดูกเกิดรูพรุน มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ พร้อมกับรูปร่างที่เปลี่ยนไป เกิดอาการปวดหลัง ปวดเอว โรคกระดูกพรุนอาจเกิดขึ้นจากพฤติกรรมอื่นๆได้ เช่น การดื่มสุรา ภาวะเบื่ออาหาร ต่อมไทยรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น

ในเมื่อสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกพรุน คือ การที่ร่างกายสูญเสียแคลเซียม ดังนั้น วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มแคลเซียมให้กับร่างกาย อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม ชีส อัลมอนด์ และปลา และถ้าอยากจะได้รับแคลเซี่ยมให้เพียงพอในแต่ละวัน เราต้องดื่มนม 1ลิตร หรือประมาณ 4 แก้วต่อวัน หรืองาดำ 8 ช้อนโต๊ะ หรือ โยเกิร์ต 6 ถ้วย หรือปลาทูทอด 6 ตัว เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก

การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียมเสริม จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถเติมเต็มแคลเซียมให้กับร่างกายได้อย่างเพียงพอในแต่ละวัน
แต่สารอาหารที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่ได้มีแค่แคลเซียมเท่านั้น ยังมีแร่ธาตุสำคัญอีก 4 ชนิด ได้แก่ แมกนีเซียม มังกานีส สังกะสี และทองแดง ที่ขาดไม่ได้คือ วิตามินดี ที่ทำหน้าที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายและช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงอีกด้วย


https://www.facebook.com/AdminBoonyai/