คือความหนาแน่นของกระดูกได้ลดน้อยลง จนทำให้กระดูกเปราะบาง มีโอกาสแตกหักง่าย โดยเฉพาะบริเวณ ข้อมือ,สะโพก และสันหลัง และเกิดขึ้นได้ทั้ง "ผู้หญิง"และ "ผู้ชาย" ต่างก็ประสบปัญหากับ"โรคกระพรุน"ได้ทั้งนั้น
โดยปกติเนื้อกระดูกจะงอกขึ้นเรื่อยๆจนอายุประมาณ 30-40 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะบางลงเรื่อยๆตามธรรมชาติ แต่ที่จะเป็นปัญหามากที่สุดคือ ภาวะกระดูกพรุนจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนในสตรีวัยหมดประจำเดือน ทำให้กระดูกบางลงได้อย่างรวดเร็ว
ช่วงที่กระดูกมีความหนาแน่นสูงที่สุด คือ ช่วงที่เป็นผู้ใหญ่อยู่ในวัยที่กำลังเติบโต แคลแซียมที่ได้รับจะนำมาสร้างให้กระดูกมีความหนาแน่นของกระดูกได้สูง ยืดอายุการใช้งานของกระดูกให้เสือมช้าลงในวัยชรา ช่วงที่มีการสร้างความหนาแน่นของกระดูกอย่างรวดเร็ว คือ ช่วงอายุระหว่าง 9-20 ปี หลังจากนั้นความหนาแน่นของกระดูกจะเริ่มคงที่จนอายุประมาณ 40 ปี ซึ่งก็คือช่วงใกล้หมดประจำเดือน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับแคลเซี่ยมมากขึ้นเป็น 2 เท่า ร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้กระดูกแข็งแรงและมีสุขภาพดี อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมอย่างเดียวไม่สามารถเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกได้ เพียงแค่ช่วยให้การบางตัวของกระดููกช้าลงจากปกติเท่่านั้น
สาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน
- แคลเซี่ยม การที่ไม่ได้รับธาตุแคลเซี่ยมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ควรสร้างความหนาแน่นของกระดูกไว้ให้ได้มากที่สุด
- กรรมพันธุ์ หากบุคคลในครอบครัวมีอาการของโรคนี้อยู่ โอกาสที่ท่านจะมีอาการของโรคนี้สูงถึง 80% อีก 20% ขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย
- สาเหตุทางกายภาพ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา จะลดประสิทธิภาพของการดูดซึมแคลเซี่ยม
- ยา ยารักษาโรคบางชนิดจะลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซน สำหรับไขข้ออักเสบ โรคหือ ยาเฮพาริน สำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง การฉายรังสีรักษาหรือการให้เคมีบำบัดซึ่งมีการทำลายเซลล์กระดูก เป็นต้น
- คาเฟอีน การดื่มกาแฟมากๆ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น โค้ก ชา เป็นต้น
- ฮอร์โมน การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้การดูดซึมแคลเซี่ยมลดลง
- อาหารแคลเซี่ยมต่ำ โดยเฉพาะในวัยชราที่ต้องการแคลเซี่ยมมมากกว่าปกติ
- การขาดการออกกำลังกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่ได้เคลื่อนไหว
- การขาดวิตามิน ดี ซึ่่งมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซี่ยม
- อาหาร บางอย่างที่มีกากใยหรือมีกรดโอซาลิคมาก เช่น ผักโขม หรือมีกรดฟีติค เช่น รำข้าว จะไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซี่ยม
- โรคบางชนิด เช่น โรคปอด ตับอ่อน และลำไส้ จะลดการดูดซึมแคลเซี่ยม
การรักษานั้นสู้การป้องกันไม่ได้ การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมให้เพียงพอกับความต้องการของแต่ละวัยจะสามารถป้องกันหรือชลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซี่ยม ได้แก่ นมสดและน้ัำตาลแลคโตสในนม จะช่วยส่งเสริมการดูดซึมให้มากขึ้น นมผง, นมผงขาดมันเนย ,โยเกิร์ต, เนยแข็ง(ชีส), น้ำปลา ,ปลาตัวเล็ก(กินทั้งตัว), ถั่ว, ไข่, ฝรั่ง, กล้วย ส่วนผักที่มีแคลเซี่ยมสูงได้แก่ คะน้า ,กวางตุ้ง ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ และการสูบบุหรี่
โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ จนกระทั่งผู้ป่วยมีอาการกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น ลื่นล้ม หรือปวดหลังอย่างรุนแรงจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง ทำให้ส่วนสูงของร่างกายลดลงและหลังโกง