30/6/61

อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม อะไรคือสาเหตุ

อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม อะไรคือสาเหตุ
อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม อะไรคือสาเหตุ
โรคอัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด มักใช้เวลาหลายปีก่อนที่ผู้ป่วยจะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งโรคนี้ส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา
อาการของโรคจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรงจนแย่ลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นไม่สามารถสนทนาโต้ตอบหรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรง

ภาวะของสมองเสื่อมแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่


  • โรคสมองเสื่อมที่รักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมาจากโรคทางกายซึ่งหลายครั้งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น กลุ่มที่เกิดจากหลอดเลือดสมองตีบตัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความดันไขมันหรือน้ำตาลในเลือดสูง สามารถรักษาได้โดยการรับประทานยาควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย อาการต่างๆก็จะดีขึ้นหรืออาจจะหายไปเลยก็ได้
  • โรคสมองเสื่องที่รักษาไม่หายขาด มักเกิดจากสภาพบางอย่างในสมอง ซึ่งมีทฤษฎีแอมีลอยด์มุ่งเน้นว่าการสะสมของเพปไทด์แอมีลอยด์ บีตา ซึ่งเป็นกลไกหลักที่กระตุ้นให้เกิดความเสื่อมของเซลล์ประสาท การสะสมของกลุ่มเส้นใยแอมีลอยด์ซึ่งเชื่อว่าโปรตีนพิษ หรือ พูดง่ายๆก็คือ เกิดการอักเสบของเส้นใยแอมีลอยด์ เมื่อสลายออกมาจะทำให้อนุมูลอิสระสลายออกมาด้วย ซึ่งอนุมูลอิสระนี้จะทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์สมอง

ปัจจัยเสี่ยง


  1. ยิ่งอายุมากยิ่งมีโอกาสเป็นมาก จากสถิติพบว่าร้อยละ 25 ของผู้มีอายุ 85 ปี ป่วยเป็นโรคนี้
  2. โรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความจำ
  3. กรรมพันธุ์ หากมีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคอัลไซเมอร์ ก็มีโอกาสที่จะเป็นมากขึ้น
  4. พฤติกรรมของคนบางกลุ่มที่มักใช้ชีวิตเรื่อยเปื่อย ไม่รับผิดชอบหน้าที่การงาน หรือไม่ได้ฝึกพัฒนาความคิด

โรคอัลไซเมอร์ สามารถแบ่งระยะโรคได้ 3 ระยะ


  1. ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะรับรู้ว่าขี้ลืม ลืมปิดเตารีด ลืมปิดประตู ลืมชื่อคน ลืมรับประทานยา ต้องให้คนช่วยเขียนรายการที่จะทำ
  2. ระยะที่สอง ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำ โดยเฉพาะความจำที่เพิ่งเกิดใหม่ๆ โดยอาจจดจำเรื่องในอดีต เริ่มใช้คำพูดไม่ถูกต้อง อารมณ์ผันผวน
  3. ระยะที่สาม ผู้ป่วยจะสับสน ไม่รู้วัน รู้เดือน บางรายมีอาการหลงผิด หรือเกิดภาพหลอน บางรายอาจจะก้าวร้าวรุนแรง ปัสสาวะราด ไม่สนใจตนเอง

ปัจจุบันสามารถตรวจด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งช่วยในการมองเห็นพยาธิสภาพทางสมอง หรือภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ เป็นการตรวจหาความผิดปกติในเนื้อสมอง หาความผิดปกติในเซลล์สมอง การสะสมของโปรตีนในผนังหลอดเลือดในสมอง การสูญเสียของการเชื่อมต่อกันของเซลล์ประสาท พยาธิสภาพเหล่านี้ทำให้สารสื่อประสาทลดลงในส่วนต่างๆ ของสมอง อันมีภาวะทำให้เกิดโรค   อัลไซเมอร์ หรือความจำเสื่อม

การดูแล ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ต้องให้ความเข้าใจ เห็นใจว่าผู้ป่วยไม่ได้ตั้งใจที่จะก้าวร้าว หงุดหงิดอย่างที่เราเห็น แต่เป็นจากตัวโรคเอง ไม่ควรทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นใจ อาย หรือหงุดหงิด

  • ควรจัดห้อง หรือบ้านให้น่าอยู่ ใช้สีสว่างๆ สดใส ถ้าในรายที่ชอบเดินไปมามากๆ ต้องใช้เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
  • เก็บของมีคม หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มิดชิด ปิดวาล์วเตาแก๊สไว้เสมอ
  • ในรายที่เริ่มจะดูแลยาก เช่น ก้าวร้าว เอะอะโวยวาย สับสนมาก หรือเดินออกนอกบ้านบ่อยๆ ควรพาไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระบบประสาท เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้ยาลดอาการดังกล่าวร่วมด้วย