โรคภูมิแพ้ทางจมูก (Allergic rhinitis) มีหลายประเภท |
โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ คือ
โรคที่มีความผิดปกติของระบบุมิคุ้มกันของร่างกายชนิดที่มีอาการแสดงทางจมูก
เกิดหลังจากได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป แล้วเกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูก
ทำให้เกิดอาการคัน น้ำมูกไหล จามและคัดจมูก โรคนี้จัดเป็นสาเหตุของอาการหวัดเรื้อรังที่พบบ่อย
ประชาชนทั่วไปมักเรียกโรคนี้ว่า “โรคแพ้อากาศ” ในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกโรคนี้หลายๆแบบ
เช่น hay fever , summer
catarrh เป็นต้น
การจำแนกชนิดของโรค
สามารถแบ่งโรคเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ออกได้ใหญ่ๆเป็น 2 ชนิด คือ
1.โรคเยื่อบุจมูกอักเสบที่มีอาการเป็นครั้งคราว
(seasonal หรือ intermittent allergic rhinitis ) เดิมเคยเรียกว่า “hay fever”
2.โรคเยื่อบุจมูกอักเสบที่มีอาการติดต่อกันตลอดทั้งปี
(perennial allergicrhinitis) หรือมีอาการติดต่อกันมากกว่า 4 วัน ต่อ 1 สัปดาหฺ และอาการคงอยู่นานกว่า 4 หัปดาห์ พบได้บ่อยกว่าชนิดแกก
ดังนั้นถ้าแพทย์กล่าวถึงโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้เฉยๆ มักจะหมายถึงชนิดนี้
อุบัติการณ์ของโรค
พบได้ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงอายุ แต่มัแสดงออกในช่วงวัยเรียนหรือวัยรุ่น
ไม่ค่อยพบในเด็กเล็ก แต่ถ้าในวัยเด็กมักพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ในผู้ใหญ่มักพบในผู้หญิงมากกกว่าผู้ชาย
โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 10-25
ของประชากรทั่วไป
มีแนวโน้มสูงในเมืองใหญ่
เพราะมีมลพิษทางอากาศสูง
อาการของโรค และการวินิจฉัย
ผู้ป่วยมักมีอาการคันจมูก จามติดๆกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสๆ
มักเป็นแล้วก็หายไปเอง อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ เสียงเปลี่ยน
จมูกไม่ได้กลิ่น น้ำมูกไหลลงคอ ไอ เจ็บคอเรื้อรัง
อาจมีอาการหูอื้อดหรือมีเสียงดังในหู
1.ผู้ป่วยที่มีอายุน้อย
และเป็นนาน ส่วนมากหายใจทางปากแทนจมูก
ดังนี้นการตรวจโพรงจมูกบริเวณด้านหน้าโดยอายุรแพทย์เฉพาะโรค จะใส่เครื่องมือเข้าในจมูก
ทำให้พบภาวะเยื่อบุบวมปิดรูจมูกได้ชัดเจนขึ้น
2.ในผู้ป่วยอายุน้อย
อาจทำให้การเจริญเติบโตของกระดูกใบหน้าและฟันผิดปกติคือใบหน้าส่วนล่างจะยาวกว่าปกติ
เนื่องจากต้องอ้าปากหายใจตลอดเวลา เพดานปากจะแคบและโค้งสูง
3.อาการคันจมูก
มักจะยกมือขึ้นขยี้หรือเสยที่ปลายจมูกบ่อยๆ การทำเช่นนี้นานๆ
อาจทำให้เกิดมีรอยย่นที่สันจมูก
4.รายที่มีอาการคัดจมูกอยู่นานๆ
อาจทำให้มีการคั่งของเลือดบริเวณใต้ขอบตาล่าง
ทำให้พบรอยคล้ำหรือพบริ้วรอยของผิวหนังใต้ขอบตาได้
5.การตรวจอื่นๆที่มักร่วมประกอบการวินิจฉัยในกรณืส่องทางด้านหน้าแล้วไม่ชัดเจน
คือ การใช้กล้องส่อง
หลักของการรักษาโรค
อาศัยหลักดังนี้
1. การหลีกเลี่ยง
หรือกำจัดสิ่งที่แพ้
2. การใช้ยาบรรเทาอาการ
3. การฉีดวัคซีน (allergen immunotherapy)
4. การรักษาโดยการผ่าตัด