23/3/55

สำหรับคนรุ่นใหม่ ที่สนใจวิถีชีวิตแบบนิปปอน

OHAYO FUKUSHIMA
โอฮาโย ฟุคุชิยะ
     สวัสดีครับฟุคุชิมะ นี่ก็ครบรอบหนึ่งปีแล้วสินะ ที่ผมได้เห็นกำลังใจของนักสู้ เพราะไม่ว่าจะผ่านความสูญเสียมามากมายเพียงใด เท่าที่ทราบคนฟุคุชิมะไม่เคยย่อท้อ หรือยอมแพ้ให้กับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคมของปีที่แล้ว ผมรู้สึกว่าคนฟุคุชิมะนอกจากจะตกเป็นผู้ที่ต้องการกำลังใจจากคนทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจที่ดีแด่ทุกคน อย่างตัวผมเองที่ได้แง่คิดบางอย่างเกี่ยวกับการเริ่มต้นแบบคนฟุคุชิมะ ซึ่งผมสรุปทบทวนได้ว่า "ก่อนจะเริ่มต้น เราต้องทำใจยอมรับก่อน" ไม่ว่าจะเป็นความสูญเสีย หรือเรื่องอะไรก็ตามที่มันเกิดขึ้นไปแล้ว ไม่สามารถย้อนกลับไปได้ เพียงเท่านี้เราก็พร้อมที่จะเริ่มต้นใหม่ได้อย่างไม่มีอะไรติดค้างจริงๆ สุดท้ายผมขอขอบคุณฟุคุชิมะที่วันนี้ทำให้ผมเข้าใจอย่างสุดซึ้งของคำว่า เริ่มต้น

จังหวัดฟุกุชิมะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดฟุกุชิมะ
(福島県)
ตราประจำจังหวัดฟุกุชิมะ
ตราประจำจังหวัด
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อภาษาไทยฟุกุชิมะ
ชื่อภาษาญี่ปุ่น福島県
เมืองหลวงจังหวัดฟุกุชิมะ
ภูมิภาคโทโฮะกุ
เกาะฮนชู
กุง13
ชิโจซง60
ผู้ว่าราชการยูเฮอิ ซาโตะ
ISO 3166-2JP-07
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
ดอกไม้Nemotoshakunage (Rhododendron brachycarpum)
ต้นไม้Japanese zelkova (Zelkova serrata)
นกNarcissus Flycatcher (Ficedula narcissina)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่13,782.54 ตร.กม. (อันดับ 3)
ร้อยละพื้นน้ำ0.9
ประชากร2,028,752[1] คน (2553-10-01)(อันดับ 17)
ความหนาแน่น154 คน/ตร.กม.
เว็บไซต์จังหวัดฟุกุชิมะ
แผนที่
แผนที่ประเทศญี่ปุ่นเน้นจังหวัดฟุกุชิมะ
จังหวัดฟุกุชิมะ (ญี่ปุ่น福島県 Fukushima-ken ?) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคโทโฮะกุบนเกาะฮนชู เมืองหลวงอยูที่เมืองฟุกุชิมะ
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ บริเวณตามชายฝั่งทะเลมีการตกปลาและมีอาหารทะเล มีการผลิตพลังงานเกี่ยวกับไฟฟ้าและเจาะจงที่อุตสาหกรรมที่กำเนิดพลังปรมาณู มีอุตสาหกรรมหนักอยู่หลายแห่ง จังหวัดฟุกุชิมะเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ และเด่นในด้านอาหารทะเล
จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในจังหวัดมิยะงิทางตอนเหนือ จังหวัดฟุกุชิมะได้รับความเสียหายใหญ่หลวงและได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากผลของการประกาศ "ภาวะฉุกเฉินพลังงานนิวเคลียร์" และการอพยพผู้อยู่อาศัยหลายพันคนซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะแห่งที่หนึ่ง[2] บางส่วนของโรงไฟฟ้าเกิดระเบิดขึ้นเมื่อเวลา 8.30 น. GMT เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554 และประชาชนอีก 45,000 คนได้รับผลกระทบจากคำสั่งอพยพเพิ่มเติม[3] โรงไฟฟ้าดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทผลิตไฟฟ้าโตเกียว[2] ตั้งอยู่ในเมืองโอคุมะ เขตฟุตะบะ

วิกฤตการณ์นิวเคลียร์

หลังจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เครื่องปฏิกรณ์สองเครื่องจากทั้งหมดหกเครื่องที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิเกิดระเบิดขึ้น ภายหลังแกนเชื้อเพลิงหลอมละลายและเกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่เครื่องปฏิกรณ์อีกสามเครื่อง ถึงแม้ว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหายนี้ในโอคุมะ จะอยู่ห่างจากเมืองฟุกุชิมะไปราว 50 ไมล์ จากการขยายพื้นที่อพยพขนาดใหญ่โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ราษฎรจำนวนมากถึงอพยพไปยังละแวกใกล้เคียง รวมทั้งเมืองฟุกุชิมะด้วย ระดับกัมมันตรังสีใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์สูงสุดที่ 400 มิลลิซีเวิร์ต/ชั่วโมง ซึ่งเป็นระดับกัมมันตรังสีที่สูงที่สุดเท่าที่เคยตรวจวัดในประเทศญี่ปุ่น[4] องค์การระหว่างประเทศได้แสดงความกังวลว่าวิกฤตการณ์ที่ยังคงดำเนินอยู่ในญี่ปุ่นอาจไล่เลี่ยกับอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ถึง 200 ไมล์จากการประมาณครั้งล่าสุด มีคนงานอย่างน้อย 5 คนเสียชีววิตแล้ว และความพยายามช่วยเหลือถูกขัดขวางโดยระดับกัมมันตรังสีที่เพิ่มสูงขึ้น[5]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ National Census 2010 Preliminary Results
  2. 2.0 2.1 Wald, Matthew L.,. "Emergency Declared at Japanese Nuclear Plant", The New York Times, March 11, 2011. สืบค้นวันที่ 2011-03-11
  3. ^ Wald, Matthew L.,. "Explosion Heard at Damaged Japan Nuclear Plant", The New York Times, March 12, 2011. สืบค้นวันที่ 2011-03-12
  4. ^ [1]
  5. ^ Gordon Rayner and Martin Evans 'Japan nuclear plant just 48 hours to avoid another Chernobyl' Daily Telegraph 17 March 2011.
ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/w/index.php?