27/6/60

โรคภูมิแพ้ (Allergy) อันตรายกว่าที่คิด

โรคภูมิแพ้ (Allergy) อันตรายกว่าที่คิด
โรคภูมิแพ้ (Allergy) อันตรายกว่าที่คิด 
โรคภูมิแพ้ (Allergy) อันตรายกว่าที่คิด เป็นโรคที่สามารถพบเห็นได้บ่อยในทุกที่ทั่วโลก โดยเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารกระตุ้น ที่ในคนที่ปกตินั้นจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรของพืช
แต่ในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้จะเกิดการตอบสนองที่มากผิดปกติต่อสารเหล่านี้ จึงทำให้เกิดอาการอักเสบกับอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ระยะเวลาที่อาการจะแสดงออกมาหลังจากสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อาจจะใช้เวลาก่อนเกิดอาการเป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมงก็ได้ และคนที่เป็นภูมิแพ้ยังมีการตอบสนองไวกว่าปกติต่อสิ่งที่ไม่ใช่สารกระตุ้น หรือสารก่อภูมิแพ้ เช่น ความเย็น ความร้อน ความชื้น ฝน ความกดอากาศต่ำ ซึ่งภาวะการณ์ตอบสนองนี้อาจจะอยู่นานเป็นวัน หรือเป็นเดือน และสามารถเกิดอาการได้โดยไม่ต้องสัมผัสสารก่อภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้สามารถเกิดได้จากทั้งเรื่องของพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีการค้นพบว่า ถ้าใครมีบิดาหรือมารดาป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ บุคคลนั้นก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้ด้วยเช่นกัน โดยมีโอกาสเป็นประมาณ 30 - 50% แต่ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้กันทั้งบิดามารดา บุคคลนั้นก็จะมีโอกาสเป็นมากขึ้นประมาณ 50 - 70% ในขณะที่ คนที่มีบิดามารดาไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้เลยจะมีโอกาสเป็นอยู่ที่ 10% เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีหนทางที่จะแก้ไขปัจจัยทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นจึงควรป้องกันตัวเองไม่ให้โรคภูมิแพ้เกิดขึ้นด้วยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ ไรฝุ่น เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดการเป็นภูมิแพ้ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นมาได้

ชนิดของโรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้แบ่งได้ตามระบบการทำงานของร่างกายได้ 5 กลุ่มดังนี้

  1. โรคภูมิแพ้ที่เกิดกับทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหืด
  2. โรคภูมิแพ้ที่ทำให้โพรงจมูกอักเสบหรือ โรคแพ้อากาศ
  3. โรคภูมิแพ้ที่เกิดกับทางผิวหนัง
  4. โรคภูมิแพ้ทางตา
  5. โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการเกิดกับหลายระบบ


การรักษาภูมิแพ้ด้วยยา

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับดังนี้

  1. ยาบรรเทาอาการอักเสบเช่น ยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน และยาขยายหลอดลม
  2. ยาต้านการอักเสบ เช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดทางปาก
  3. การใช้วัคซีนภูมิแพ้ ซึ่งเป็นการรักษาโรคด้วยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายของผู้ป่วย โดยเริ่มจากทีละน้อยๆ และเพิ่มปริมาณเข้าไปมากขึ้นเรื่อยๆ จนร่างกายเริ่มชินกับสารก่อภูมิแพ้นั้น ซึ่งผู้ป่วยที่ควรได้รับการรักษาแบบนี้ คือ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยก่อนที่จะรักษาด้วยวิธีนี้ต้องมั่นใจก่อนว่าผู้ป่วยแพ้อะไร เพื่อจะได้นำสารที่แพ้มาฉีดวัคซีนได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการรักษาแบบนี้จะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 3 - 5 ปี

ป้องกันการเป็นโรคภูมิแพ้ได้หรือไม่

โรคภูมิแพ้นี้เกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีสารก่อภูมิแพ้น้อย ก็ถือได้ว่าเป็นการป้องกันการเกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงสำหรับผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ได้ นอกจากนี้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันการเกิดอาการแพ้ได้ 
และยังมีอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ อาหารเสริมเฮอร์บรากร้า