ลูกโป่ง หลากสีสัน ของเล่นที่ดูเหมือนจะไม่เป็นพิษเป็นภัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า อาจทำมให้ลูกได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตได้ ลูกโป่งในบ้านเรา ยังมีบางร้านที่อัดด้วยก๊าซไวไฟ เรียกว่า ไฮโดรเจน เนื่องจากมีราคาถูกกว่าลูกโป่งที่อัดก๊าซไม่ไวไฟ หรือฮีเลียม ดังนั้นหากประกายไฟจากไม้ขีดไฟ เทียน หรือแม้แต่ไปสัมผัสโดนหลอดไฟนีออน ก็สามารถติดไฟ และระเบิดโป้งป้างขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว
อันตรายถึงชีวิต
มีรายงานจากสหรัฐฯระบุว่า เด็กๆเสียชีวิตเพราะเศษลูกโป่งเข้าไปอุดตันในหลอดลมถึง 110 ราย หรือประมาณ 4 คนต่อปี เนื่องจากเก็บเอาไปเคี้ยวเล่น หรือเป่าให้เป็นลูกเล็กๆโป่งออกมา จนพลาดสำลักเข้าไปติดในหลอดลม ดังนั้น เมื่อใช้ลูกโป่งเล่น หรือทำกิจกรรมต่างๆเสร็จสิ้น ควรเก็บเศษของลูกโป่งในทันที
ข้อควรระวัง สำหรับคุณพ่อจ๋า คุณแม่จ๋า
- ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 8 ขวบเล่นเป่าลูกโป่ง ส่วนเด็กทีมีอายุเกิน 8 ขวบ ผู้ใหญ่ก็ควรแนะนำอย่างใกล้ชิด
- เก็บเศษลูกโป่งที่แตกหลังเสร็จกิจกรรมทุกครั้ง โดยนำไปทิ้งทันที ก่อนที่เด็กจะเอาไปอม ดูด หรือเป่าเล่นจนพบาดสำลักเข้าไปติดหลอดลม
- ควรสอน หรือบอกเด็กๆว่า ลูกโป่งนั้น แตกได้โดยไม่ยาก ดังนั้นไม่ควรเอามาเล่นใกล้หน้าหรือใกล้ตาเป็นอันขาด
- ลูกโป่งที่ประดับประดาในงานพิธี หรืองานเทศกาลต่างๆ อาจบรรจุด้วยก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งเป็นก๊าซต้องห้าม ถ้าไม่แน่ใจก็ต้องอยู่ห่างๆไว่ด้วย